วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พีระมิดใต้น้ำ อนุสาวรีย์โยนากุนิ อารยะแห่งแดนอาทิตย์อุทัย"

The Yonaguni Factor





ณ บริเวณชายฝั่งของเกาะเล็กกระจ่อยร่อยในญี่ปุ่นนามว่า โยนากุนิ

สิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายอนุสาวรีย์ยักษ์ได้จ่อมจมอยู่ใต้น้ำ    
มันเป็นวิหารหินขนาดมหึมาที่แม้ปัจจุบันหลายฝ่ายก็ยังถกเถียง   
และหาคำอธิบายที่ฟังขึ้นเกี่ยวกับมันไม่ได้ ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดก็คือว่า   
อนุสาวรีย์แห่งโยรากุนินี้ เกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือเกิดจากผลงานทางอารยธรรมของมนุษย์    
ถ้าเป็นฝีมือมนุษย์ เทคโนโลยีขนาดไหนถึงจะรังสรรค์มันออกมาให้เกิดขึ้นได้ในรูปลักษณ์ที่โอ่อ่า
อลังการเช่นนี้ หากเกิดจากธรรมชาติ คำอธิบายเกี่ยวกับเหลี่ยมมุมและแนวกำแพงที่ตรงแหนวแม่นยำ
ราวกับเกิดจากการ วัดคำนวณของวิศวกรมือเอกนี่เล่า จะอธิบายอย่างไร?







บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้   ต่างพากันลงความเห็นว่าอนุสาวรีย์ยักษ์นี้เกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ อนุสาวรีย์หินที่โยนากุนิก็นับเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบศตวรรษ   โดยเฉพาะในประเด็นของโบราณสถานใต้น้ำ แต่ก็นั่นล่ะครับ อายุอานามของอนุสาวรีย์(ขอเรียกแบบนี้ไปก่อนละกัน)แห่งนี้   
     เท่าที่คำนวณคร่าวๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า น่าจะอยู่ในตอนปลายของยุคน้ำแข็ง ซึ่งมันก็หมื่นสองพันกว่าปีมาแล้ว บางท่านว่าน่าจะเก่ากว่านั้นด้วยซ้ำ เอ...ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยุคใหม่เราย้อนหลังไปไกลขนาดนั้นหรือครับ แถมถ้าเป็นอารยธรรมโบราณก่อนยุคน้ำแข็งจริง สิ่งก่อสร้างนั้นคือผลงานของอารยธรรมใดกัน? สิ่งก่อสร้างมหึมาเหล่านั้นใครเป็นผู้สร้างมันเอาไว้ให้มีขนาดใหญ่โตเกิน เหตุ ในยุคโบร่ำโบราณที่อารยธรรมของมนุษย์ยังไม่ก่อกำเนิดแบบนี้








สถานที่แห่งนี้น่าจะเป็นข้อสรุปที่ดีสำหรับข้อถกเถียงในวงการโบราณคดีที่ว่า

อารยธรรมโบราณก่อนหน้าที่มนุษย์จะรู้จักและยังคงเป็นตำนานอยู่นั้นมีจริง หรือไม่ เพราะจากหลักฐานเท่าที่มีในปัจจุบัน

อารยธรรมของมนุษย์ที่พอยอมรับได้ว่าเป็นอารยธรรมมันเริ่มก่อตัวขึ้นมาเมื่อ ประมาณ 6000 ปีก่อนนี้เท่านั้นเอง

แต่น่าประหลาดมากครับ อนุสาวรีย์ที่โยนากุนิ มีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับอนุสรณ์สถานต่างๆในอเมริกาใต้เป็นอย่างมาก

บางคนถึงกับเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "ปิระมิดใต้ทะเลแห่งเอเชีย" เลยทีเดียว








โบราณสถานแห่งนี้ อาจเป็นคำอธิบายที่ดี สำหรับอารยธรรมต่างๆในแถบอเมริกากลางและใต้ เช่น แอสเท็ค อินคา มายา นาซก้า ได้ว่า เหตุใดชนชาติเหล่านั้นจึงเจริญขึ้นอย่างไม่มีที่ไปที่มา และรังสรรค์งานสะท้านโลกออกมาให้มนุษย์ยุคใหม่อย่างพวกเราได้พิศวงกันจนถึง ทุกวันนี้ ทฤษฎีที่เสนอแนะว่า บรรพบุรุษหรือผู้รอดตายจากแถบโยนากุนิ ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปสู่โลกใหม่นั้น สร้างความเกรียวกราวในวงการอยู่พอสมควร มีหลักฐานจากสิ่งก่อสร้างใต้น้ำมายืนยัน ว่ามันเป็นลักษณะและไสตล์ที่เหมือนกันราวกับแหล่งเดียว แต่ว่า.. ยังมีแต่อยู่นิดนึงครับ















ปริศนาที่ยังไม่คลี่คลาย



ขอย้อนอดีตไปยังปี ค.ศ. 1985 ที่โยนากุนิ อันเป็นดินแดนที่อยู่ค่อนไปทางนะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ใกล้ๆกับหมู่เกาะริวกิว โยนากุนิเป็นสถานที่ที่เลื่องชื่อในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว อาทิ เป็นที่อยู่ของตัวมอธพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีแนวปะการังที่สวยงาม และธุรกิจสอนประดาน้ำกับการดำชมปะการังก็กำลังเฟื่องฟูในตอนนั้น แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมายให้ความสนใจไปพักผ่อนกัน นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว นักวิทยาศาสตร์และนักชีววิทยาทางทะเลจำนวนไม่น้อย ก็แห่กันไปที่นั่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมของฉลามหัวฆ้อน อันมีอยู่อย่างชุกชมและถือเป็นแหล่งที่อยู่ของฉลามหัวฆ้อนแหล่งใหญ่อีกแหล่ง ของโลกเลยครับ



ความยาวของมันครับ


... ท่ามกลางความคึกคักของแถบนี้ ยังไม่มีใครรู้เลยว่า ไกลออกไปจากชายฝั่งไม่กี่อึดใจ โยนากุนิ

ได้ซ่อนเอาโบราณสถานใต้น้ำขนาดมหึมาเอาไว้โดยไม่มีใครทราบมาก่อน

บุคคลแรกที่ค้นพบโบราณสถานใต้น้ำแห่งโยนากุนิ เป็นนักประดาน้ำท้องถิ่นชื่อ คิฮาชิโระ อาระทาเกะ เขาเป็นครูสอนประดาน้ำ


รวมทั้งเจ้าของกิจการโรงแรมเล็กๆที่มีรายได้ไม่เลว เหมือนกัน จกาปากคำของอาระทาเกะ เขาพบโบราณสถานแห่งนี้ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1985

ในวันที่ลมสงบและทะเลไร้คลื่น ใช่แล้วครับ บรรยากาศแบบนี้นับว่าหาได้ยากยิ่ง และดูเหมือนเป็นใจให้กับการประดาน้ำอย่างที่สุด

อาระทาเกะตัดสินใจที่จะไปดำน้ำสำรวจชายฝั่งด้วยความตั้งใจสองประการคือ หนึ่ง ดำไปตามกิจวัติประจำวันของเขา และสอง

สำรวจหาแหล่งประดาน้ำและแนวปะการังใหม่ เพื่อต้อนรับลูกค้าของเขานั่นเอง






มุมที่ได้ฉากแบบพอดี






การเซาะร่อง แนวตรงเปะ ความกว้างก็สมำเสมอ








ในรูปนี้มีเหมือนเป็นหน้าคนด้วยครับ
ซูม มีตา มีจมูก แต่มีรูปบังตรงส่วนปาก




สิ่งที่อาระทาเกะค้นพบนั้นมีลักษณะคล้ายกับวิหารครับ มีความยาวมากกว่า 300 ฟุต สูง 75 ฟุต และกว้าง 100 ฟุต นับว่าใหญ่โตเอาเรื่องเลยทีเดียว หลังจากว่ายน้ำวนเวียนสำรวจอยู่ครู่ใหญ่ อาระทาเกะก็ยิ่งทึ่งในโบราณสถานใต้น้ำแห่งนี้หนักเข้าไปอีก มันมีเหลี่ยมคูที่เที่ยงตรงเหมาะเหม็ง การตัดเส้น แนวกำแพงที่ตรงแหน๋ว รวมทั้งบริเวณที่มีลักษณะคล้ายกับระเบียงวิหาร เขาเก็บภาพอีกชุดหนึ่ง แล้วจึงกลับขึ้นเรือของเขาเพื่อที่จะแจ้งข่าวใหญ่นี้ให้คนอื่นในญี่ปุ่นได้ ทราบกัน



อีกไม่กี่เดือนถัดมา นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี และผู้สนใจก็แห่กันมาที่โยนากุนิให้ควั่ก มีการตั้งไซต์ขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติม โดยกระจายวงค้นหาไปทั่วบริเวณนับตั้งแต่ชายฝั่งของโอกินาวาไปจนถึงบริเวณ หมู่เกาะริวกิว มีการค้นพบวิหารโบราณเพิ่มเติมจากเดิมเหมือนกันครับ บรรดานักสำรวจต่างก็งในความโอ่อ่าใหญ่โตของมัน แต่ก็ยังมีลักษณะแปลกๆของวิหารเหล่านี้อยู่ นั่นคือมันใหญ่โตเกินไปที่จะมาจากฝีมือของมนุษย์ หลายคนเสนอว่า โบราณสถานเหล่านี้ไม่น่าจะใช่โบราณสถานอย่างที่คิด มันอาจจะเป็นผลงานของธรรมชาติอันเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ที่บังเอิญรูปร่างรูปทรงของมัน ดันมาคล้ายวิหารหรือโบราณสถานโบราณให้คนที่ได้พบเห็นแตกตื่นเล่นเท่านั้นเอง ก็แล้วแต่จะว่ากันไปล่ะครับ



อย่างไรก็ตาม หนึ่งในทีมงานสำรวจ Professor Masaaki Kimura แห่งมหาวิทยาลัยริวกิวได้ลงความเห็นว่า โบราณสถานเหล่านี้ น่าจะเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์มากกว่า เขาเชื่อมโยงลักษณะของโบราณสถานเข้ากับบรรดาปราสาทหิน และสุสานโบราณบนหมู่เกาะน้อยใหญ่ในบริเวณใกล้เคียง และชี้ว่ามันเป็นสถาปัตยกรรมที่ใกล้เคียงกันมาก โถ.. แม้แต่หลักฐานที่หลงเหลือบนเกาะ ก็ยังไม่มีใครทราบเลยครับว่ามันมาจากไหน ต่อให้รู้ว่ามันมาจากแหล่งเดียวกัน คำตอบที่วงการวิทยาศาสตร์และโบราณคดีต้องการก็ยังไม่กระจ่างแจ้งอยู่ดีแหละ น่า




แม้ Professor Masaaki Kimura จะลงความเห็นว่า โบราณสถานแห่งโยนากุนิจะเกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์ แต่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นในญี่ปุ่นไม่เห็นด้วยกับเขาอย่างสิ้นเชิง หลายกลุ่มเสนอแนวคิดว่า การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาทำให้โบราณสถานแห่งโยนากุนิมีรูปทรงดังกล่าว เช่นการเปลี่ยนแปลงหรือการกระเทาะของเปลือกโลก อย่าเพิ่งหัวเราะไปนะครับ ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่ธรรมชาติจะรังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์นี้ขึ้นมา ฉากมุม 90 องศาของโบราณสถานสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติพอๆกับการเกิดของคริสตัลที่ เหลี่ยมมุมพิศดารกว่านี้น่านล่ะครับ




ข่าวคราวของโบราณสถานใต้น้ำโด่งดังจนลอยไปเข้าหูของนักสำรวจชาวตะวันตก หลายคนมีความหวังเกี่ยวกับแอตแลนติสตะวันออกขึ้นมา ภายใต้การสำรวจที่เต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค พวกเขามีข้อสรุปหลายอย่างที่น่าสนใจออกมาครับ ซึ่งผมจะเก็บความเอามาเล่าในตอนต่อๆไป ตอนนี้ก็ดูรูปไปพลางๆก่อนนะครับ พิจารณาด้วยสายตาของท่านเองว่า โบราณสถานเหล่านี้ เป็นฝีมือของธรรมชาติหรือเกิดจากอารยธรรมโบราณที่เรายังไม่รู้จักกันแน่









ที่มา : http://www.mythland.org

____________________



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น